โบ.ลาน เปิดบ้านสุขุมวิท 53 รับ ร้าน Err Urbun Rustic Thai, Wasteland และ Must Wine Bar มาร่วมสร้างดินแดนไร้ขยะใต้หลังคาเดียวกัน
แม้ว่าตัวเราเองจะได้ยินแนวคิดเรื่องร้านอาหารที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมามากมายขนาดไหน มันก็มักจะมีจุดที่เรารู้สึกว่ามันเป็นไปไม่ได้อยู่เสมอ จนมีโอกาสไปฟังอย่างละเอียดอีกครั้งจาก “เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ” แห่งร้าน “โบ.ลาน” ร้านอาหารไทยเจ้าของรางวัลมากมาย ที่เราสัมผัสได้ว่าตัวเชฟเองอาจจะไม่แคร์เรื่องรางวัลด้วยซ้ำ เพราะเป้าหมายและแพสชั่นที่เราได้เห็นทุกครั้ง คือการทำร้านอาหารให้ยั่งยืนและไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เชฟโบ รวมถึงผู้คนที่มีเป้าหมายเดียวกัน ออกมาพูดเรื่อง “ความยั่งยืน” เรามีโอกาสฟังเชฟโบมาหลายต่อหลายครั้ง ทุกครั้งมันเมคเซ้นส์ แต่มันดูยิ่งใหญ่มากๆ เช่น เรื่องที่ทุกวันนี้คนเราก็ทานพลาสติกที่เราทิ้งลงทะเลผ่านไมโครพลาสติกในตัวปลา หรือ คาร์บอนที่เกิดจากเกษตรกรรม — แต่มาวันนี้ โบ.ลาน ได้ใช้โอกาสเปิดบ้านหลังช่วงโควิด ปรับพื้นที่ ชวนคนที่เชื่อแบบเดียวกันมาอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน และ แสดงให้เราเห็นว่า “Zero Waste to Landfill” หรือ “ขยะจบที่เรา” เป็นไปได้จริงๆ
“Zero Waste to Landfill”
จะไม่มีขยะจากบ้านหลังนี้ไปจบอยู่ที่บ่อขยะ — อ้าว แล้วเศษอาหาร พลาสติกบรรจุภัณฑ์ ถุงสุญญากาศที่จำเป็นต้องใช้ปรุงหรือถนอมอาหารล่ะ? ไหนจะขวดแก้ว เปลือกผลไม้ เศษกระดูก มันเป็นไปได้หรอ? ร้านอาหารที่จะไม่ผลิตขยะออกมาเลย?
เชฟโบพาเราเข้าไปทัวร์ในครัว เริ่มตั้งแต่การคิดว่า กระบวนการของร้านทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ จะเกิดขยะอะไร และนำทุกอย่างมาแบ่ง แยก หาวิธีจัดการกับมัน
ที่นี่ใช้ ผ้าลงขี้ผึ้ง แทนฟิล์มห่ออาหาร, แลกกล่องกับเกษตรกร เพื่อไม่ให้ซัพพลายเออร์ส่งวัตถุดิบมาในพลาสติกใช้แล้วทิ้ง, เปลือกผลไม้ถูกนำไปหมักเป็น EM ซึ่งเอาไว้ใช้ดับกลิ่นท่อ ลดปริมาณยุง ใช้ในน้ำยาซักล้าง, ที่นี่ยังนำเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม มาทำเป็นส่วนผสมของน้ำยาซักล้างและฆ่าเชื้อ รวมถึงการทำสบู่เอง ส่วนถุงสุญญากาศ ก็ยังเก็บไปพัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างวัสดุใหม่ อีกด้วย
นอกจากนี้ เชฟโบ ยังได้ร่วมมือกับ Etna บริษัทเครื่องแก้ว ร่วมกันชุบชีวิต “ขวดไวน์” ทั้งขวดไวน์ที่ร้านและร้านเพื่อนๆ เชฟ โดยกการนํา ไปบด แล้วหลอมถึงมาใหม่ ห้กลายเป็นเหยือกน้ํา เพื่อใช้ในร้านอีกด้วย
คำว่า Zero Waste หรือ ไม่มีเศษขยะเลย อาจจะยังไม่ 100% แต่ถ้าบอกว่า Zero Waste to Landfill คือไม่มีขยะจากที่นี่ไปที่บ่อขยะ เชฟโบทำให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ เราเห็นมาแล้ว
บ้านสุขุมวิท 53
เมื่อก่อน เราทราบกันดีว่า ภายในซอยสุขุมวิท 53 นั้น เป็นที่ตั้งของร้านอาหารไทยชื่อดัง ที่ได้รางวัลมากมายอย่าง “โบ.ลาน” แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงได้มีการจัดสรรปันส่วนพื้นที่ภายในบ้านใหม่ ไม่ได้เป็นที่ตั้งของร้าน โบ.ลาน เท่านั้น แต่ละยังเป็นที่ตั้งของพันธมิตร ที่เห็นด้วยกับ Eco-Gastronomy มาร่วมทํา ผสม ดื่ม กินอยู่ในบ้านหลังนี้
ทำให้ที่นี่เป็นที่ตั้งของ
– โบ.ลาน อาหารไทย Bo.lan Essentially Thai ที่ยังคงคอนเซปท์สำรับอาหารไทย สืบทอดภูมิปัญญาอาหาร กับ อาหารรสชาติจัดจ้าน ทั้งเผ็ดร้อน และ นุ่มนวล เสิร์ฟเป็นสำรับอย่างสมดุล และ ใครต่อใครก็ยอมรับว่าสมรางวัลระดับโลกที่ร้านได้รับ
– เออ อาหารไทย Err Urban Rustic Thai ร้านอาหารไทยที่เคยเปิดที่ท่าเตียน ได้กลับมาอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน โดยยังคงเสิร์ฟ อาหารไทยสามัญที่เป็นที่คุ้นเคย โดยใช้วัตถุดิบออร์แกนิค และ ไม่ใช้เครื่องปรุงอุตสาหกรรม อย่างผงชูรส ซอสหรือ ผงปรุงรส รวมไปถึงการทําอาหารแปรรูปเอง อีกด้วย
– Wasteland ดินแดนไร้ขยะ ที่นี่ไม่ใช่ Bar แต่คือ Community Sipping Space ที่อยากชวนทุกคนมาจิบ ลิ้มรสเครื่องดื่ม ที่ทำอย่างอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Wasteland ไม่ได้เอาขยะมาทําเป็นเครื่องดื่ม Wasteland แค่ต้องการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่ทรัพยากรเหล่านั้นจะกลายเป็นปุ๋ย ด้วยความร่ว มมือของจากคนครัวโบ.ลาน การคัด แยกและเก็บ สิ่งที่ครัวไม่สามารถนํามา ใช้ปรุงและทําอาหารได้ ครัวก็จัดเก็บให้ Wasteland ต่อ ไปไม่ว่าจะเป็นก้านโหระพา ก้านกระเพรา หรือ กากมะพร้าวจากการคั้นกะทิ ถูกหยิบใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อ ไปในการทําเครื่องดื่มที่มี รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ รสชาติดี และ มีความน่าสนใจมากๆ
– โบ.ลาน ร้านชํา Bo.lan’s Grocer ร้านชําที่เปิดโอกาสให้ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ทำมือ ที่ผลิตขึ้นด้วยภูมิปัญญา และ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนจากประเทศไทย ได้มีโอกาสไปถึงมือทุกๆ คน
– Must Wine Bar ที่เลือกไวน์ Biodynamic มานำเสนอ ไวน์ที่มาจากองุ่นที่ปลูกไม่ใส่สาร ทําไวน์โดยเกื้อกูลกับธรรมชาติ และมีคุณภาพดี
นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ สวน โบ.ลาน และ โครงการขยะจบที่เรา ที่จะช่วยให้เรื่อง “Zero Waste to Landfill” กลายเป็นจริงได้
หากใครสนใจไปลิ้มรส กิน ดื่ม สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
> https://www.facebook.com/wastelandbkk